ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ

นักวิชาการ จี้ ศธ.เปลี่ยนจาก ‘ผู้คุมกฎ’ เป็น ‘ส่งเสริม’

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา ในฐานะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เปิดเผยว่า จากข้อมูลพบว่า มีนักเรียนในระดับชั้น ม.2 หลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก สาเหตุที่ทำให้เด็กเหล่านี้ถูกผลักออกจากการศึกษา เช่น ถูกไล่ออกเพราะปัญหาพฤติกรรม ถูกไล่ออกจากการติด ร. ติด 0 ถูกไล่ออกเพราะปัญหายาเสพติด และพฤติกรรมชู้สาว เป็นต้น

เมื่อเด็กเหล่านี้ถูกไล่ออก ก็จะเข้าสู่งวงจรสีเทาภายใน 3 เดือน คือ เด็กจะเริ่มติดเพื่อน เริ่มทดลองใช้สิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา น้ำกระท่อม ยาเสพติด จนถึงขั้นรวมกลุ่มตั้งแก๊ง เมื่อเด็กเหล่านี้ทำผิด จะถูกส่งเข้าสถานพินิจ ออกมาไม่นานก็กระทำผิดซ้ำ และวนเข้าสถานพินิจอีก โดยพบว่ามีเด็กประมาณ 40-50% ที่วนกลับเข้าสถานพินิจซ้ำ

“กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รู้ว่าการจัดการศึกษา และช่วยเหลือเด็กเหมือนที่ผ่านมา ไม่สามารถช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ได้ เพราะเด็กจะกระทำผิดซ้ำ และวนเข้าสถานพินิจเหมือนเดิม ซึ่งเดิมสถานพินิจเป็นสถานที่ปิด และการเรียนรู้เข้าถึงยาก จึงคิดทบทวนใหม่ โดยเปิดสถานพินิจให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ให้เครือข่ายภาคประชาชนสังคม เช่น กสศ.เข้ามาช่วยจัดการศึกษาให้กับเด็กที่ก้าวพลาด เมื่อสถานพินิจกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ทำให้นวัตกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เข้าสู่สถานพินิจได้ง่ายขึ้น มีศูนย์การเรียนรู้ทั้งออนไลน์ และออนไซต์ โดยเปิดสอนทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ และทักษะอาชีพ ทำให้เด็กที่สังคมรังเกียจ เป็นยุวอาชญากร กลายเป็นพลเมืองปกติได้ เพราะสถานพินิจจัดการศึกษาให้เด็กจนจบชั้น ม.3 ทำให้มีวุฒิการศึกษาติดตัว ไปสมัครงานที่ต่างๆ ได้” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

นักวิชาการ จี้ ศธ.เปลี่ยนจาก ‘ผู้คุมกฎ’ เป็น ‘ส่งเสริม’

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อว่า เรื่องนี้ถือเป็นความมหัศจรรย์ทางการศึกษา หากเรากล้าที่จะเปิด และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ นำนวัตกรรมเข้ามาช่วยจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการ และตรงกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน การศึกษาจะทำหน้าที่ของตนเอง คือเปลี่ยนเด็กให้เป็นพลเมืองปกติได้ เมื่อสถานพินิจนำการศึกษาเข้ามาให้เด็ก พบว่าลดจำนวนเด็กที่วนเข้าสถานพินิจซ้ำจำนวนมาก จาก 40% เหลือ 16% เท่านั้น

“ซึ่งมองว่าเรื่องนี้สะท้อนระบบการศึกษาไทย หากการศึกษาไทยยังเป็นระบบปิด ยึดกฎระเบียบ และไม่เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ก็จะไม่มีนวัตกรรมทางการศึกษาไหลเข้ามา ทำให้การศึกษาไทยอยู่กับที่ ติดอยู่กับการศึกษาแบบเดิมๆ ปัญหาก็จะซ้ำซ้อนมากขึ้น และหากข้าราชการเปลี่ยนความคิดจากการเป็นผู้คุมกฎระเบียบ เป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ผมยังมีหวังกับข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าจะไม่ยึดระเบียบ ไม่ยัดเหยียดการเรียนรู้ ให้เด็กได้รับการศึกษาในลู่ทางเดียว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างหลากหลาย เพราะตราบใดที่ ศธ.ยังยึดกฎระเบียบ และคิดว่าการจัดการศึกษาไม่มีใครรู้ดีเท่าตนแล้ว ก็จะทำให้การศึกษาย่ำอยู่กับที่ ผมมองว่าถ้าข้าราชการ และ ศธ.ปรับเปลี่ยนตนเอง เปิดกว้าง จัดการศึกษาตามความต้องการของเด็ก จะทำให้การศึกษาของเราพัฒนาเพิ่มมากขึ้น” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ marketingsharper.com

แทงบอล

Releated